
Share:
บทความดีๆที่น่าสนใจ
เจอบุหรี่ในห้องนอนลูกวัยรุ่น พ่อแม่ต้องทำอย่างไร ???
พบบุหรี่ในห้องลูกวัยรุ่น…รับมืออย่างไร
กรณีพ่อแม่พบ (หรือคิด) ว่าลูกวัยรุ่นทำพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ขอให้ตั้งหลัก หายใจเข้าลึก ๆ ใจเย็น ๆ พูดคุยด้วยความอยากเข้าใจ งดใช้อารมณ์ งดใช้ความรุนแรง เลือกวันเวลาที่ผ่อนคลาย แล้วคุยกับลูกกันค่ะ
.
คำแนะนำ 1- เริ่มบทสนทนาด้วยข้อเท็จจริง ไม่ต้องอุบไว้รอให้ลูกสารภาพ
เช่น เราเจอบุหรี่ในห้องนอนของลูกก็อาจบอกตรง ๆ ง่าย ๆ ไปเลยว่า “แม่เจอบุหรี่ในห้องลูก” แล้วหยุดรอฟังว่าลูกจะพูดอะไร แทนการพูดประมาณ “แม่รู้นะ ว่าไปทำอะไรไว้ สารภาพมาซะดี ๆ” และอันที่จริงการเจอบุหรี่ก็อาจไม่ได้หมายถึงลูกสูบหรือติดบุหรี่
.
คำแนะนำ 2 – เปิดโอกาสให้ลูกเล่าเมื่อพร้อม
เช่น ถ้าลูกอึกอัก ก็บอกลูกว่า “ถ้าลูกพร้อมจะเล่า ก็ค่อยเล่า” และอาจถามต่อว่า ”ลูกเคยอยากลองสูบบ้างไหม”
.
คำแนะนำ 3 – ขอบคุณที่ลูกยอมเล่า
เช่น ถ้าลูกยอมรับว่า “สูบบุหรี่” ก็อาจบอกลูกว่า “แม่ดีใจนะ ที่ลูกยอมเล่าให้แม่ฟัง”
.
คำแนะนำ 4 – ค้นหาความรุนแรงของปัญหา และบอกความเป็นห่วงของเรา
เช่น “สูบแล้วรู้สึกยังไง เล่าให้แม่ฟังได้มั้ย”
“พอจะบอกแม่ได้มั้ย ว่าสูบเยอะมั้ย วันละกี่มวน”
“แม่เป็นห่วงเรื่องสุขภาพ ลูกคิดว่ามีแนวโน้มจะติดหรือเปล่า”
.
คำแนะนำ 5 – เชื่อใจลูก และเป็นกำลังใจในการแก้ปัญหา
เช่น “พ่อเชื่อนะว่าลูกจะเลิกได้”
“พ่อจะช่วยอะไรได้บ้าง”
.
ถ้าทำได้ตามนี้ โอกาสช่วยลูกก็จะสูงขึ้น และอาจช่วยวัยรุ่นกล้าเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟังมากขึ้น เพราะพ่อแม่แสดงให้เขาเห็นว่า พร้อมจะฟัง พร้อมจะให้โอกาส และเป็นที่พึ่งให้เสมอ
การสื่อสารเพื่อการปรับพฤติกรรมให้ได้ผล ควรเป็นการสื่อสารแบบดูแลความรู้สึก ไม่ต้องพูดเหตุผลเยอะ ไม่เน้นสั่งสอนทางเดียว เน้นการมีส่วนร่วมให้ลูกแก้ปัญหา ถ้าเน้นด่าว่า ตำหนิ อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง อาจปิดช่องทางการสื่อสาร และหนทางแก้ปัญหาได้
คำแนะนำดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
(ผู้เขียน : รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์)
ขอบคุณ OSCCconsulting
แหล่งที่มา
เลี้ยงลูกวัยรุ่นให้ถูกทาง by แม่มิ่ง
(ผู้เขียน : รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์)
ขอบคุณ OSCCconsulting
Share:
แหล่งที่มา มูลนิธิรณรงค์ เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ASH THAILAND
https://www.facebook.com/share/p/1BBxk5AjVK/
Share:
ขั้นตอนการทำบัตรคนพิการ
ศูนย์เบ็ดเสร็จ
จดทะเบียนบัตรคนพิการ-ได้รับสิทธิอะไรบ้าง
บัตรคนพิการ
Share: